“ขมิ้นชัน” แก้อาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดการอักเสบ

865 Views  | 

“ขมิ้นชัน”  แก้อาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดการอักเสบ

ขมิ้นชัน (Turmeric)

        ขมิ้นชันมีสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) สามารถช่วยลดสารอักเสบ บรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าต่าง ๆ เช่น ลดอาการข้อยึดข้อติดที่มักพบหลังตื่นนอน และช่วยลดอาการบวมในข้อ ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเหินได้นานขึ้น  นอกจากนี้ขมิ้นชันยังมีความเป็นพิษต่ำ จึงถูกนำมาพัฒนาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการอักเสบของข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เก๊าท์และรูมาตอยด์นั้นเอง



 
       ที่สำคัญ “เคอร์คิวมินอยด์” ยังจัดว่าสารอาหารที่อยู่ในสมุนไพร จึงไม่มีผลข้างเคียงจากการรับประทานในระยะยาว เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาแพ้ยาเคมีต่าง ๆ

กลไกลของขมิ้นชันในการรักษาอาการอักเสบ:

 

 ขอบคุณภาพจาก: ยาน่ารู้. โรงพยาบาลพระปกเกล้า

       ขมิ้นชัน มีกลไกต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ผ่านกลไกการยับยั้ง platelet-activatingfactor, arachidonic acid และยับยั้งการสร้าง thromboxane ที่เป็นสารที่สร้างจากเกล็ดเลือด มีคุณสมบัติทำให้เกร็ดเลือดจับติดกันในการเกิดเป็นลิ่มเลือดและทำให้เส้นเลือดหดตัว ซึ่งการเกาะกลุ่มกันของเกล็กเลือดจะนำไปสู่การอักเสบบริเวณข้อต่างๆ ในร่างกาย หากใช้ขมิ้นชันในการรักษาอาการอักเสบจะมีกลไกยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดในการช่วยลดการอักเสบดังที่กล่าวไป

เลือกอย่างไรให้ได้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ: 

       การรับประทานขมิ้นชันให้ได้ประโยชน์ที่ครบครันและเต็มประสิทธิภาพ ควรเลือกขมิ้นชันในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตภายใต้โรงงานผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตยาระดับสากล และจะดียิ่งกว่าหากเคอร์คูมินอยด์อยู่ในรูปของไฟโตโซม เพราะจะช่วยให้สารจากธรรมชาติที่ถูกดูดซึมได้ยากกลายเป็นสารที่ถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้น ถึง 9 เท่า เมื่อเทียบกับสารสกัดขมิ้นชันทั่วไป และเกิดการนำไปใช้ในการรักษาร่างกายได้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อควรระวัง:

       1. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังยกเว้น ภายใต้การดูแลของแพทย์ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่
       2. ผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กควรรับประทานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการรับประทานขมิ้นในปริมาณสูงอาจลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
       3. ผู้ที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดีหรือมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหยุดใช้ขมิ้นรูปแบบต่าง ๆ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
       4. ผู้ชายที่ประสงค์จะมีบุตรควรรับประทานด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากขมิ้นอาจลดระดับฮอร์โมนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิในน้ำเชื้อในผู้ชาย

นอกจากนี้การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ:

       สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น จึงไม่ควรรับประทานขมิ้นชันติดต่อกันเกิน 8 เดือน และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขมิ้นในปริมาณมากหรือเข้มข้นสูง(มากกว่า 1,500 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อวัน) เพราะอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ แต่ยังไม่มีความชัดเจนถึงผลข้างเคียงนี้

หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถทักมาคุยกันได้ที่ไลน์แอดได้นะคะ (LINE ID: @healthyclub)  หรือทางช่องทางเฟสบุค Saithong ได้เลยค่าา^^

 
ขอบคุณแหล่งงานวิจัยอ้างอิงจาก

1. มหาวิทยาลัยมหิดล

2. โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี

3. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy