ลำไส้คุณรั่วหรือไม่? Leaky Gut Syndrome

1788 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลำไส้คุณรั่วหรือไม่?  Leaky Gut Syndrome

ลำไส้รั่วคืออะไร?                                                                      

การเกิดลำไส้รั่วนั้น ไม่ใช่การที่อาหารหลุดออกมานอกสำไส้ แต่คือการที่สารพิษหรือสารใดๆที่ควรจะถูกขับออกมาทางอุจจาระตามปกติ แต่กลับถูกดูดซึม เล็ดลอด ผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์เยื่อบุผนังสำไส้ เข้าสู้ระบบไหลเวียนโลหิต และสารพิษเหล่านั้นจะถูกลำเลียงไปทั่วร่างกายทำให้เกิดโรคหรืออาการไม่สุขสบายต่างๆ เช่น มีแก๊สในทางเดินอาหารมากผิดปกติ ปวดท้องบ่อยๆ ท้องอืด อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ เหนื่อยเพลียง่าย ทั้งที่พักผ่อนเพียงพอ มีผื่นคัน ภูมิแพ้ ปวดศีรษะหรือปวดตามข้อไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักขึ้นง่ายผิดปกติ

 

ขอบคุณภาพจาก : ผนังลำไส้เล็ก 

สาเหตุเกิดจากอะไร?                                                    

โดยปกติเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงชิดติดกันเป็นระเบียบ เรียกว่า "Tight Junctions" ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารและป้องกันไม่ให้สารพิษ เชื้อก่อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง แต่เมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดการอักเสบ (Inflammation) เกิดความเสียหายต่อ Tight junctions ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ จึงสูญเสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสาร บรรดาสารพิษ สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรคจึงสามารถเล็ดลอดผ่านช่องว่างเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง การเพิ่มขึ้นของช่องว่างเหล่านี้เรียกว่า "ภาวะลำไส้รั่ว" หรือ "Leaky Gut Syndrome" ร่างกายจึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ จนก่อให้เกิดปัญหาการอักเสบเรื้อรังซ้ำซากและกลายเป็นอาการเจ็บป่วยตามมา ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะไส้รั่วเกิดจากการเสียสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้

ขอบคุณภาพจาก : humarian

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เสียสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีคือ

  1. ด้านพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็น ความเครียดเรื้อรัง, ความวิตกกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ 
  2. การรับประทานอาหาร อาหารแปรรูป อาหารjuck food การรับประทานอาหารที่เราแพ้แต่ไม่รู้ตัว(ภูมิแพ้อาหารแอบแฝง) อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง แต่มีเส้นใยไฟเบอร์ต่ำ ซึ่งนอกจากจะส่งผลทำให้ร่างกายสร้างกรดขึ้นมามากจนทำลายผนังลำไส้แล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์ก่อโรคเหล่านี้ก็จะปล่อยสารพิษมาก่อกวนผนังลำไส้จนรั่วในที่สุด  
  3. การรับประทานบยาบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาต้านจุลชีพ ยาฆ่าเชื้อทุกชนิด เช่น Amoxycillin Norfloxacin Erythromysin และ Tetracycline เป็นต้น ยาเหล่านี้จะไปทำลายจุลินทรีย์ทุกชนิด ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ การเสียความสมกุลของจุลินทรีย์ดีที่คอยทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผนังลำไส้ เมื่อผนังลำไส้อ่อนแอลง ก็จะเสี่ยงต่อภาวะลำไส้รั่วได้ง่ายมากขึ้น  ขณะเดียวกันจำพวกยาแก้ปวด แก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น Indomethacin Naproxen และ Ibuprofen ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหารและสามารถทำลายผนึกกั้นระหว่างเซลล์เยื่อบุลำไส้ ทำให้สารพิษและเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนมาในอาหารสามารถผ่านช่องว่างเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย

ขอบคุณรูปภาพจาก : love earth

อาการเตือน 

มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างภาวะลำไส้รั่วกับโรงเรื้อรังหลายชนิด โดยนักวิจัยค้นพบว่า ความผิดปกติในการซึมผ่านเยื่อบุผนังลำไส้มีความสัมพันธ์กับโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) โรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์น (Cronh’s disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคแพ้ภูมิตนเอง (Systemic Lupus Erythematosus; SLE) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) และโรคหอบหืด เป็นต้น

  • อาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปฏิกิริยาการแพ้อาหารแฝง ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของภาวะลำไส้รั่ว โดยจะไม่ได้แสดงอาการแพ้รุนแรงทันทีหลังรับประทานอาหาร แต่มักจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือท้องเสียสลับกับท้องผูกเป็นประจำ เป็นต้น
  • อาการทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นแดง คัน ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ สิวอักเสบเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม คันจมูก คอบวม ไอ หอบหืด หายใจลำบาก
  • อาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะไมเกรน การตัดสินใจช้าลง สมาธิลดลง
  • อาการอื่น ๆ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะนอนหลับพักผ่อนเป็นเวลานาน มือเท้าเย็น (โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากยาและโรคอื่น) น้ำหนักขึ้นง่ายผิดปกติ และอาการในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune Disease) เป็นต้น

อาการเบื้องต้นที่ดูไม่น่าอันตรายเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากภาวะลำไส้รั่วร่วมด้วย โดยพบว่าเมื่อทำการรักษาภาวะลำไส้รั่วแล้ว อาการดังกล่าวก็จะสามารถทุเลาลงไปได้ ซึ่งหากอาการเหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเริ่มรบกวนชีวิตประจำวันแล้ว ขอแนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 
How to? ทำอย่างไรให้สำไส้ดี

1. Remove กำจัดต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่ว

ด้าานอาหาร งดอาหารแปรรูป อาหารjuck food งดการรับประทานอาหารที่เราแพ้แต่ไม่รู้ตัว(ภูมิแพ้อาหารแอบแฝง) อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง แต่มีเส้นใยไฟเบอร์ต่ำ

ลดการใช้ยา ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาแก้ปวด แก้อักเสบ  กลุ่ม NSAIDs ในกรณีที่ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้

ด้านพฤติกรรม ลดความเครียด เพราะเมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งกระทบต่อการทำงานของลำไส้ด้วย หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

2. Rebalance ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้

โดยการเติมจุลินทรีย์ดีเช่น โปรไบโอติก ซึ่งโปรไบโอติกจะอยู่บริเวณผิวของลำไส้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแทรกเข้าไปในกระแสเลือด ฆ่าเชื้อโรคชนิดไม่ดี กระตุ้นภูมิคุ้มกัน(เม็ดเลือดขาว)ในเนื้อเยื่อน้ำเหลืองใต้ลำไส้ให้ทำงานได้ดีขึ้น เป็นตัวเชื่อมโยงระบบภูมิคุ้มกันทั้งปอด และผิวหนัง อาหารกลุ่มที่มีโปรไบโอติกสูง เช่น โยเกิร์ต ผัก ผลไม้ ถั่ว ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น

3. Replenish เสริมด้วย vitamin แร่ธาตุ กรดอมิโน   

vitamin A b, c, d e กรดอมิโน กลูตามีน โอเมก้า3 เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน ยกตัวอย่างอาหาร เช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพด มะละกอ ไข่ไก่ ถั่วลิสง ผักบุ้ง ผักโขม กะหล่ำปลี สาหร่าย มะเขือเทศ ฝรั่ง เสาวรส  นม เป็นต้น

สมุนไพรไทย ตัวที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้แก่ ตรีผลา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ตรีผลามีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลธาตุทั้ง 4 กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เมื่อนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ต้านอนุมูลอิสระ

4. Restore พื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน                                   

การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนอย่างมีคุณภาพจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น                                                     

การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด เพราะความเครียดจะเป็นตัวทำลายระบบภูมิคุ้มกันและอาการไม่สุขสบายอื่นๆตามมา ทำกิจกรรมที่ส่งผลให้อยู่ในสภาวะอารมณ์ผ่อนคลาย  เช่น เล่นกีฬา อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น

สุดท้าย อาการไม่สุขสบายจะไม่สามารถหายได้ในวันสองวัน แต่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง เพราะเราคือหมอที่ดีที่สุดของตัวเอง หวังว่าทุกคนจะมีสุขภาพดีนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวชมหาวิทยาลัยมหิดล 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้