1331 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจุบันพบสารที่เป็นองค์ประกอบของกัญชาทั้งหมด 565 ชนิด ข้อมูลจาก 2015
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มแคนาบินอยด์, กลุ่มเทอร์ปีน, กลุ่มฟลาโวนอยด์
1 กลุ่มแคนนาบินอยด์
แคนนาบินอยด์มีมากกว่า 100 ชนิด สำหรับพืชพบได้ในกัญชาเท่านั้น เรียกสารแคนาบินอยด์ที่ได้จากกัญชาว่า "ไฟโตแคนนาบินอยด์" เพื่อไม่ให้สับสนระหว่างสารแคนาบินอยด์ที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้น
หลายคนอาจจะสงสัยว่ากัญชาสามารถสร้างสารแคนาบินอยด์ที่เหมือนกับสารที่ร่างกายสร้างขึ้นได้ด้วยหรอ คำตอบคือเกือบเหมือนค่ะ แต่ใช้แทนกันได้ โดยโครงสร้างทางเคมีของสารไฟโตแคคนาบินอยด์จากกัญชาคล้ายกับโครงสร้างทางเคมีของสารแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในระบบการทำงานของร่างกายที่เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinoid System (ESC)
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ คือระบบการรักษาความสมดุลของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ทั้งระบบประสาท กระบวนการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ การอักเสบต่างๆ ระบบภุมิคุ้มกัน ระบบประสาทสัมผัส การทำงานของหัวใจและอื่นๆ ระบบต่างๆที่กล่าวมาจะถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์
หากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารแคนาบินอยด์ได้ หรือสร้างได้น้อย ร่างกายจะเกิดอาการผิดปกติ อาจเกิดโรคต่างๆขึ้นได้ การใช้สารแคนาบินอยด์ที่ได้จากกัญชาไปทดแทน จึงช่วยรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากากรบกพร่องของสารแคนาบินอยด์ได้ ในบทความต่อไปจะมาขยายความถึงกระบวนการทำงานของสารแคนนาบินอยด์ให้ผู้อ่านนะคะ ตอนนี้ขอต่อหัวข้อสารในกลุ่มแคนาบินอยด์กันก่อนค่ะ
แคนาบินอยด์ (Cannabinoids) เป็นสารสำคัญในกัญชา ตัวที่รู้จักและมีการศึกษาวิจัยมากในปัจจุบันได้แก่สาร THC, CBD, CBG, CBC, CBN โดยสารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ สารเดลต้า 9 เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และ แคนนาบิไดออล (CBD)
ความแตกต่างระหว่างสาร THC และ CBD
สารTHC และ CBD มีความคล้ายคลึงกันมาก นอกจากจะอยู่ในกลุ่มแคนาบินอยด์เหมือนกันแล้วยังมีส่วนประกอบอะตอมที่เท่ากันอีก THCและCBDประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 อะตอม และออกซิเจน 2 อะตอม แต่สิ่งที่ต่างกันคือการเรียงตัวของอะตอม ส่งผลให้ออกฤทธิ์ต่อระบบภายในร่างกายต่างกันไปด้วย
โดยความแตกต่างที่ชัดเจนคือ THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทางประสาท ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการเมา หรือ “High” ในขณะที่ CBD จะไม่ส่งผลทางระบบประสาทโดยตรง ทำให้ผู้ใช้ไม่เกิดอาการเมา ที่เป็นแบบนี้เพราะสารทั้งสองชนิดทำงานกับตัวรับแคนนาบินอยด์ในร่างกายเราแตกต่างกัน
ตัวรับแคคนาบินอยด์ที่ว่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่แล้วตามธรรมชาติ ตัวรับแคนนาบินอยด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ CB1 และ CB2 โดยตัวรับแคนนาบินอยด์ CB1 จะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ในขณะที่ตัวรับแคนนาบินอยด์ CB2 จะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนปลาย
เจ้าตัวรับแคนนาบินอยด์ CB1 ที่ระบบประสาทส่วนกลางนี่เองที่ตอบสนองต่อสาร THC ทำให้เกิดอาการเมา หรือ high นอกจากนี้เอนไซม์ในร่างกายของมนุษย์ยังสลายสาร THC ได้ยากกว่า CBD จึงทำให้อาการเมานั้นอยู่ได้นานตามปริมาณ THC ที่ยังค้างอยู่ในร่างกาย
สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง 2 ชนิดนี้คือ “ความรู้สึก”ที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสารทั้งคู่เข้าไป
THC
สาร Tetrahydrocannabinol (THC) ในขนาดที่เหมาะสม จะออกฤทธิ์ ลดอาการปวด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเคลื่อนไส้
ถ้าหากได้รับในปริมาณสูง จะออกฤทธิ์ ทำให้เมา ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการทำงานของสารเคมีในสมอง ทำให้การรับรู้เพี้ยน การตัดสินใจและมีผลต่อความจำ
หากได้รับในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง จะ ทำให้เกิดภาวะการดื้อต่อสาร Tolerance ทำให้ต้องเพิ่มขนาดจึงจะได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดยาต่อเนื่องได้
CBD
สาร Cannabidiol (CBD) เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยอาการเมาเคลื้ม และแก้อาการทางจิตจากสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ได้ นอกจากนี้ สาร Cannabidiol (CBD) มีการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการใช้ CBD เพื่อควบคุม อาการชัก อาการปวด แต่ยังไม่พบว่าทำให้เกิดอาการดื้อยาหรือติดยาได้
CBC
CBC เป็นอีกหนึ่ง cannabinoid ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งแม้จะมีการค้นพบในทศวรรษที่ 1960 แต่ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด มีงานศึกษาบางตัวที่ชี้ว่า CBC เพิ่มคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดของ THC และอาจมีคุณสมบัติในการต้านอาการซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพมากกว่า CBD นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นเรื่องของการศึกษาทางการแพทย์ต่อไป
CBG
CBG เป็น cannabinoid ที่มีจำนวนน้อยมาก แต่มีประโยชน์ต่อการรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคต้อหิน ภาวะซึมเศร้า และการบรรเทาอาการปวด รวมถึงมีส่วนเสริมความชุ่มชื้นให้ผิวตามธรรมชาติ CBD เป็นสารตั้งต้นทางเคมีให้กับ cannabinoids อื่น ๆ เช่น CBD และ THC เนื่องจากผ่านกระบวนแปรเคมีระหว่างการเจริญเติบโตของพืช ด้วยเหตุนี้จึงมักมีความสัมพันธ์ผกผันระหว่าง CBG ระดับสูงและ THC ระดับต่ำ CBG ไม่ทำให้มึนเมา
CBG ถูกค้นพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคต้อหินเนื่องจากช่วยลดความดันในลูกตา เป็นยาขยายหลอดเลือด และมีฤทธิ์ป้องกันระบบประสาท ในการทดลองพบว่า CBG มีประสิทธิภาพในการลดลักษณะการอักเสบของโรคลำไส้อักเสบ และ สามารถปกป้องเซลล์ประสาทในหนูที่เป็นโรคฮันติงตันซึ่งมีลักษณะการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง รวมถึงมีผลวิจัยเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า CBG อาจสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
CBN
สารประกอบสำคัญที่มีผลการทำงานเป็นยาช่วยในการนอนหลับ cannabinol มีอยู่เป็นสัดส่วนน้อย และพร้อมใช้งานน้อยกว่า CBD หรือ THC แม้ว่าจะเป็นหนึ่งใน cannabinoids แรกที่ถูกค้นพบ CBN ผลิตขึ้นเมื่อ THC ถูกออกซิไดซ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ดอกกัญชาแห้งที่สัมผัสกับออกซิเจนสามารถเป็นแหล่งที่ดีสำหรับการสกัด CBN นอกเหนือจากการเป็นตัวช่วยในการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพแล้ว CBN ยังร่วมกับ CBD และ THC ในคุณสมบัติต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ การบรรเทาอาการซึมเศร้า และภาวะทางระบบประสาทเช่นโรคลมชักและอัลไซเมอร์